เว็บบอร์ด
คณะครูและนักเรียนร่วมกิจกรรม สืบชะตาลำน้ำปืม
ผู้อำนวยการและคณะครูโรงเรียนบ้านไร่อ้อย พานักเรียนเข้าร่วมกิจกรรจสืบชะตาลำน้ำปืม
- ชนะเลิศการประกวดวาดภาพระบายสีในระดับชั้นมัธยมต้น และระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย
คณะครูและนักเรียนร่วมกิจกรรมทางศาสนา เนื่ิองในวันวิสาขบูชา
ในวันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม 2561 ผู้อำนวยการและคณะครูโรงเรียนบ้านไร่อ้อย นำพานักเรียนเข้าร่วม
กิจกรรมทางศาสนา ณ วัดศรีดอนมูล
.
ผลการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านไร่อ้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พะเยา เขต 1
บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : ผลการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านไร่อ้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พะเยา เขต 1
ผู้ศึกษา : ยุพาพิน ไชยบาล
กลุ่มสาระการเรียนรู้ : คณิตศาสตร์
ปีที่ศึกษา : ปีการศึกษา 2559
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้เป็นการศึกษาผลการใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนบ้านไร่อ้อยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านไร่อ้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยการใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านไร่อ้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านไร่อ้อยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านไร่อ้อยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 13 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ แบบฝึกทักษะ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านไร่อ้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 จำนวน 17 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านไร่อ้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยประเภทเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แผนการจัดการเรียนรู้ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านไร่อ้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 จำนวน 17 แผน แผนละ 1 ชั่วโมง รวม 17 ชั่วโมง และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านไร่อ้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 เป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเอง สถิติที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s)ทดสอบ ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้สถิติ Paired-sample t-test และเทียบกับเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด โดยใช้สถิติ One-sample t-test และศึกษาผลการใช้แบบฝึกทักษะ โดยใช้สูตรการหาประสิทธิภาพ E1/E2
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านไร่อ้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน () เท่ากับ 25.46 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) เท่ากับ 1.33 ค่าเฉลี่ยร้อยละ 84.87 สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน () เท่ากับ 12.54 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (s) เท่ากับ 1.85 ค่าเฉลี่ยร้อยละ 41.79 แสดงว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน ร้อยละ 43.08 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และสูงกว่าเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดที่ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานของการศึกษา
2. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยการใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนบ้านไร่อ้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.56 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.52 และสูงกว่าเกณฑ์ระดับความพึงพอใจระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.51 ขึ้นไป) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานของการศึกษา